วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 27 เมษยน 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.


วันนี้เป็นการสอบในเนื้อหาที่ได้เรียนมาทั้งหมด  ได้การสรุปบทเรียนที่เรียนมาทั้งหมด
























    

บันทึกการเรียนวันพุธที่ 23 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 23 เมษายน 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.

เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.

เนื้อหา
    วันนี้สอบสอนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยให้เพื่อนๆเป็นเด็ก กลุ่มของข้าพเจ้าได้ การเขียนแผนการสอน "เรื่องปลา" นำนำสื่ออุปกรณ์เกี่ยวกับปลา










  เทคนิคที่ได้จากอาจารย์  
         การสอนจะต้องต่อเนื่อง
         การนำสื่อและอุปกรณ์ในการสอนเด็กจะต้องถ้าจะให้ดีจะต้องเป็นของจริง
         ครูเก็ฐเด็กให้ได้
         การสอนจะต้องนั่งให้เสมอกับเด็กไม่บังกระดานเพื่อเด็กจะได้เห็นชัดและถูกต้อง
         ครูจะต้องมีลายมือที่สวย
         
การนำมาประยุกต์ใช้
    เราสามารถนำไปบูรณาการในการสอนและเพื่อเด็กจะเข้าใจในการเรียนได้

บรรยากาศในห้องเรียน
     วันนี้มีการเรียนแปลกขึ้นเพราะสถานที่ไม่เอื้ออำเนื้อ อาจารย์มาเรียนใต้ตึกเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศอีกแบบ

การประเมิน
  
ประเมินตนเอง
    ทำให้รู้การจัดการสอนและเทคนิคที่เพิ่มขึ้น

ประเมินเพื่อน
   ให้ความร่วมมือทุกคน ตั้งใจในการเรียน

ประเมินอาจารย์
    อธิบายการสอนและมอบเทคนิควิธีการสอนอย่างเข้าจ



บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 8 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 8 เมษยน 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.

เนื้อหา
การออกแบบกิจกรรม

ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย
1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
      เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
  กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

วิธีการสอน
   มีอุปกรณ์ในการเรียนที่ครบถ้วน
   มีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียน

การประยุกต์ใช้
    สามารถนำการเรียนไปบูรณาการในการสอนได้

การประเมิน

ประเมินตนเอง
มีความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
ประเมินอาจารย์
อธิบายได้อย่างเข้าใจ การแต่งกายเรียบร้อย

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 25 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 25 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.

เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.

กิจกรรมต่อไม้รูปทรงต่างๆ
อุปกรณ์
1.ไม้ 
2.ดินน้ำมัน
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้
4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้
นำเสนอบทความ
เลขที่2 เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

นำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่25 เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5ประสาทสัมผัส
เลขที่26 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทาน

นำเสนอรูปแบบการสอน
นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา
ปรัชญาและหลักการสอน
1เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2เด็กที่มีจิตซึมซับได้
3.ช่วงเวลาหลักของชีวิต
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม
5. การศึกษาด้วยตนเอง
วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเตรียม = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
     วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว
   ลักษณะเด่นของวิธีสอน
1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง
3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง
4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไ1ข

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง
นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology),วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
-Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
-Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
-Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิธีการสอน
-มีกิจกรรมตัวอย่างให้ทำก่อนเรียน
-มีกิจกรรมทรอดแทรกให้น่าสนใจ

การประยุกต์ใช้
สามารถนำไปบูรราการ การใช้สอนกับการรียนการสอนของด็กปฐมวัยได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมมือปฎิบัติกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ เข้าสอนด้ตรงเวลา

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 18 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 11 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.

เนื้อหา
   ให้ทำกิจกรรมโดยการแบ่งกลุ่ม ละ3คน โดยแต่งนิทาน คำค้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ดังนี้

สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ เท่ากัน ไม่เท่ากันน้อยกว่า มากกว่า
สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา

วิธีการสอน
นำเสนอวิจัยโดย เลขที่22
นำเสนอบทความโดย เลขที่ 1 เรื่องเทคนิคการสอนเลขอนุบาล
นำเสนอบทความ เลขที่ เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์ปฐมวัย 
             เลขที่3 กระดุมหลากสี
             เลขที่ 25 กิจกรรมแสนสนุก
             เลขที่ 26 อนุรักษ์เชิงปริมาณ

ทักษะที่ได้รับ
 - การฝึกความกล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น
 - การฝึกทักษะการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง
 - การฝึกความคิด จิตนาการ ในการเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
 นำสื่อต่างๆในด้านคณิตศาสตร์ไปใช้ ในการเรียนการสอน การนำเพลง นิทาน  คำคล้องจอง เพื่อไปใช้สอนเด็กได้ฝึกการคิด ฝึกจิตนาการได้
บรรยากาศในห้องเรียน
 ทุกคนให้ความร่วมมือ แต่วันนี้มีกิจกรรมกีฬามหาลัย ทำให้นักศึกษามาเรียนน้อย

การประเมิน
ประเมินตนเอง
  เข้าใจในเนื่อหาที่เรียนและเรียนรู้ว่าเราสามารถนำเพลง คำคล้องจอง มาประยุกต์ใช้ในการสอนได้อีกด้วย
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในทำกิจกรรม 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมตัวในการสอนอย่างดี อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจ  อาจารย์ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

การนำเสนอสื่อและกิจกรรมสำหรับทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
กิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท

จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 
     1. ส้ม 2-3 ผล
     2. มะม่วง 2-3 ผล
     3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
     4. การจาด 
     5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม
     1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
     2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
     3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
     4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
     5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผลสังเกต
   1. จากการร่วมกิจกรรม
   2. จากการสนทนาตอบคำถาม
  3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 11 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พุธที่ 11 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.
เนื้อหา- ก่อนการเริ่มการเรียนการสอน
ให้ทำกิจกรรมติดชื่อการมาโรงเรียนของนักเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง มีสามชิกทั้งหมดจำนวน 16 คน ในกิจกรรมนี้จะเชื่อมโยงไปสู่สาระมาตรฐานและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ
สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
น้อยกว่า มากกว่า
สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา

- นำเสนอบทความ เลขที่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
- นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์
     รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครง เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด ในวันนี้เพื่อนๆได้นำเสนอเป็น Powerpoint และมีโทรทัศน์ครูเป็นสื่อประกอบ 
    รูปแบบการจัดประสบการณ์ 2 กลุ่ม มีปัญหา นำเสนอสัปดาห์หน้า
-  เพื่อนออกมานำเสนอสื่อและกิจกรรมในการสอนเด็กปฐมวัย 3 คน
- ฝึกร้องเพลงและแปลงเนื้อเพลง


เพลง บวก- ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

แปลงเพลง
บ้านฉันมีหมวกสวยเจ็ดใบ เพื่อนให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีหมวกสวยสิบใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาหมวกแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่เจ็ดใบ

เพลง เท่ากัน- ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

แปลงเพลง
แพะมีสี่ขา แกะมีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา สองขา ต่างกัน
แพะแกะมี สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง

เพลง จับปู
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ
วิธีการสอน
- มีการทบทวนความรู้เดิม เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- มีสื่อในการเรียนการสอนประกอบ

ทักษะที่ได้
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการตอบคำถาม
- ทักษะในการร้องเพลง
- ทักษะในการแปลงเพลง

การนำไปประยุกต์ใช้
        นำไปใช้ในการเรียนการสอนในการจัดประสบการณ์รูปแบบต่างๆ และได้ทักษะในการนำเพลงๆไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีปัญหาขัดข้องคือเมื่อนำซีดีไปเปิดงานไม่สามารถเปิดได้ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น

การประเมิน
ประเมินตนเอง
       เข้าใจในเนื่อหาที่เรียนมากขึ้น ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในทำกิจกรรม ช่วยกันแสดงความคิดเห็นมีความร่วมมือสามัคคีกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
        อาจารย์เตรียมตัวในการสอนอย่างดี อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจ สอดคล้องกับแผนการเรียนและยังเกิดประโยชน์อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




กรอบมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คลิก



สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
       มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
  มาตรฐานค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด
  มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
  มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
  มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
   มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญวัน/เดือน/ปี 
วันพุธ 18 กุมภาพันธ์ 2558 
เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาที่เรียน
     - อาจารย์จัดกิจกรรมเขียนชื่อบนกระดาน เรื่องเวลาเรียน(นาฬิกา)ซึ่งเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชวิตประจำวันได้คือ
              1. ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเวลา ตัวเลข
              2. ทำให้ได้รู้การเรียงลำดับ การมาก่อน มาหลัง

              3. ทำให้ได้เรียนรู้ด้านภาษา
- ทบทวนสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ทบทวนเพลง
- นำเสนอโทรทัศน์ครู เลขที่17 เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า คู่  ขี่ การบวกเลขง่ายๆโยนลูกเต๋าใช้เป็นสื่อประกอบ

- รูปแบบการจัดประสบการณ์
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์  เเบบบูรณาการ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ เเบบโครงการ
3.รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
4.รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบ STEM
5.รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบ มอนเตสเซอรี่
6 รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง


รูปแบบการจัดประสบการณ์ คือ การนำศาสตร์เเต่ละอย่างมารวมกันเพื่อให้เกิดความรู้ และมีทักษะเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆในชีวิตจริงได้ทำให้เกิดความรู้ใหม่

การนำไปใช้ เด็ก ต้อง  ควร อยาก รู้อะไร
                     เด็ก ต้อง ควร อยาก ทำอะไร

สาระการเรียนรู้
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อม
3.เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว 
4.เรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก 

-  ทำมายแมพกิจกรรมแผนการการจัดประสบการณ์
บูรณาการ

ทักษะที่ได้รับ
- ได้ฝึกการคิดได้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนอย่างถูกต้อง

- ได้ฝึกการเขียนตัวอย่างแผนกการจัดประสบการ์บูรณาการอย่างถูกต้อง

วิธีการสอน
  -  ให้เด็กได้ฝึกการคิดตอบคำถาม ลงมือปฎิบัติเองและอาจารย์สรุปองค์ความรู้ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


การประยุกต์ใช้
   -  นำความรู้ที่ได้เรียนไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้เด็ก และบูรณาการให้เด็กได้เรียนรู้ตามเนื้อหาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ต่อไป
บรรยากาศในชั้นเรียน
    -  ห้องเรียนเหมาะแก่การเรียนรู้ อุปกรณ์ในการเรียนพร้อม

การประเมิน
ประเมินตนเอง
   -   เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น มีความตั้งใจในงานที่อาจารย์มอบหมายอย่างเข้าใจ
ประเมินเพื่อน
   -   เพื่อนให้ความร่วมมือในกิจกรรมอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
   -  อธิบายเนื้อหาให้นักศึกษาเข้าใจ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เสียงดังฟังชัด

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี วันพุธ 11 กุมภาพันธ์ 2558 
เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 12.20

เนื้อหาที่เรียน
- เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถสอดแทรกได้ในทุกการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน เนื้อเรื่องสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ กิจรรมควรให้เด็กลงมือปฎิบัติด้วยตัวเองผ่านการเล่น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อีกด้วย
1.นิทาน
2.เพลง
3.เกม
4.คำคล้องจอง
5.ปริศนาคำทาย
6.บทบาทสมมุติ
7.เเผนภูมิภาพ
8.การประกอบอาหาร

ภาษาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

ทักษะที่ได้รับ
- ได้ฝึกการคิดลองผิดลองถูกจากิจกรรมที่ครูจัด
-  ได้เข้าใจในเนื้อหาและเทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น

วิธีการสอน
- อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติจริง และฝึกการคิดแก้ปัญหา
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน แลกเปลี่ยนการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้
- นำเทคนิคการจัดประการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปบูรณาในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในวิชาอื่นๆในการสอนเด็กปฐมวัยต่อไป

บรรยากาศในชั้นเรียน
- มีความพร้อม ห้องสะอาด

การประเมิน

ประเมินตนเอง
- เข้าใจถึงเนื้อหามากขึ้น
- แต่งกายถูกระเบียบ

ประเมินเพื่อน
- ให้ความร่วมมือนการทำกิจกรรมทุกคน


ประเมินอาจารย์
- อธิบายเนื้อหาที่เรียนได้อย่างเข้าใจ มีเพลงใหม่ๆพร้อมกิจรรมใหม่ทุกวัน

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญวัน/เดือน/ปี วันพุธ 4 กุมภาพันธ์ 2558 
เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 11.20


เนื้อหาในการเรียน

1.อาจารย์จัดกิจกรรมให้นักศึกษาเขียนชื่่อตนเองลงในป้ายคำเเล้วนำไปติดบนกระดาน ว่าใครมาโรงเรียนเพื่อเด็กจะได้ฝึกการนับจำนวนและได้รู้ว่านักเรียนมากี่คน



เด็กต้องเรียนเป็นลำดับขั้นเริ่มจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง
การสอนเราควรสอนแบบบูรณาการ คือกิจกรรมหนึ่งจะเเทรกทักษะต่างๆเข้าไปด้วย



2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยมี 6 สาระ ดังนี้

                  1.จำนวนละการดำเนินการ เข้าใจถึงความหลากหลาย
                  2.การวัด เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด เปรียบเทียบ
                  3.เรขาคณิต รู้จัการจำเเนกรูปเรขาคณิต
                  4.พีชคณิต ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
                  5.การวัดวิเคราห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น รวบรวมข้อมูลเกียวกับตนเอง
                  6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การเเก้ปัญหา การใช้เหตุผล


3.สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฎิบัติในชั้นเรียนได้อย่างไร
            เด็กสามารถเเก้ปัญหาทักษะทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานเเละยังเป็นการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษา

เนื้อหาสาระสอดคล้องกับพัฒนาการ

เพลง


เพลง เข้าแถว 

เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนว ยืนเรียงกัน 
อย่า มัวแชเชือน เดินตาม เพื่อนให้ทัน 
ระวัง เดินชนกัน เข้าแถวกัน ว่องไว


เพลง จัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนตัวให้ตรง         ก้มหัวลงตบมือแผละ
                                 แขนซ้ายอยู่ไหน      หันหัวไปทางนั้นแหละ                                       


ทักษะที่ได้รับ
  - ได้ฝึกทักษะการคิดการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
  - เข้าใจในเนื้อหาสาระมากขึ้น


วิธีการสอน
 - อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติจริง และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
 -  นำความรุ้จากในหนังสือ คือ ให้เพื่อนนำเสนอบทความเพื่อจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นขึ้นจริงและอาจารย์อธิบายให้เข้าใจ

การประยุกต์ใช้
- นำความรู้เกี่ยวกับสาระและมาตรฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยนำไปจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อไป


บรรยากาศในชั้นเรียน
- ห้องมีความเป็นระเบียบ อุปกรณ์สื่อการสอนพร้อม

การประเมิน

ประเมินตนเอง
- เข้าใจเนื้อหามากขึ้น 
- ตั้งใจเรียนมีสมาธิมากขึ้น

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามดีมาก

ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพ พูดจาได้เข้าใจ อธิบายเนื้อในการเรียนเข้าใจมาก

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวัน พุธ ที่ 28 มกราคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญวัน/เดือน/ปี วันพุธ 28 มกราคม 2558เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาในการเรียน

- เพื่อนเซอร์ไพร์วันเกิดในห้อง อาจารย์เลยจัดกิจกรรมให้นักศึกษาบอกตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับวันเกิด
- ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 
- จัดกิจกรรมให้นักศึกษา เขียน-ชื่อเล่นของตัวเองลงในกระดาษ แล้วใครมาก่อนให้ออกไปติดหน้ากระดาน ใครมาก่อน 8.00 น. ให้ติดด้าน มาหลังแปดโมงติดด้านหลัง 

- จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ดังนี้

               1. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคุณคำศัพท์และสัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
         2. เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก หรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
         3. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การจดบันทึก การชั่งน้ำหนัก
         4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การลำดับ
         5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ความอยากรู้ และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม
         6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
- ทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ดังนี้
      1. ทักษะการสังเกต(Observation) คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้  
       2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม
      3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์  เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง
      4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering) คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
      5. ทักษะการวัด(Measurement)คือ เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้
      6. ทักษะการนับ(Counting) คือ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน
      7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size) คือ
เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น
           
วิธีการสอน
- อาจารย์ทบทวนบทเรียนสัปดาห์ที่แล้วเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
- ยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงจากวันเกิดของเพื่อนแล้วนำมาวิเคราะห์ในตัวเลข
- นำเสนอโทรทัศน์ครูจากเพื่อน

การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้
- ใช้ทักษะในการวิเคราะห์ตัวเลขในเหตุการณ์การจริง
- แบบทดสอบก่อนเรียนสามารถทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น
การประยุกต์ใช้
- นำไปจัดกิจกรรม จัดประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์ให้เด็กเข้าใจมากขึ้น สามารถให้เด็กเข้าใจตัวเลขในเหตุการณ์จริง

บรรยากาศในชั้นเรียน
- เครื่องมือพร้อม ห้องสะอาด

การประเมิน
ประเมินตนเอง  เข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

ประเมินเพื่อน    เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ร่วมมือกันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์  อาจารย์สอนเข้าใจ สอนสนุก ทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน


วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 21 มกราคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21 มกราคม 2558 เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น.เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาในการเรียน
 1.ได้รับฟังการนำเสนองานวิจัยจากเพื่อน
 2.ความหมายและประโยชน์ขอพัฒนาการ
   
แนวคิดการเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา

  - ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
             

             1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู


              2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปีแบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้นคือ
                ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข


             3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล


             4.ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
  
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
            1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
            2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
            3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้


ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวก๊อตสกี้ (Vygotsky)
           ทฤษฎีของวัฒนธรรมและสังคมของ เลฟ ไวก๊อตสกี (Lev Vygotsky) ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก ทฤษฎีนี้กล่าวว่า สังคมและวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมความฉลาดและกระบวนการเรียนรู้ในพัฒนาการของเด็ก


พัฒนาการทางด้านสติปัญญามีความสัมพันธ์กับสมอง คือ 
การทำงานของสมองพัฒนาเป็นลำดับขั้นตอน

           การจัดประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.เป็นรูปธรรม
2.ใช้สื่อที่หน้าสนใจ
3.ให้เด็กมีส่วนร่วม
4.ใช้เวลาไม่นาน

วิธีการสอน
- อธิบายถึงเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิด ถามตอบ
- อาจารย์ให้ร้องเพลง พร้อมการฝึกแปลงเพลง เพื่อจะจัดกิจกรรมให้เข้ากับบทเรียน
- อาจารย์สรุปเนื้อหา เข้าใจในเนื้อหาี่เรียนมากยิ่งขึ้น

ทักษะที่ได้รับ
- การทำงานของสมองมีความสำคัญอย่างยิ่งถึงพัฒนาการ
- การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ทำให้รู้ได้อย่างถูกต้อง
- การแปลงเพลงคณิตศ่าสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถดัดแปลงได้หลายรูปแบบ

การนำมาประยุกต์ใช้
  นำความรู้ที่ได้รับมาจัดประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับพัฒนาการด้านสติปัญญา ตามแนวคิดของนักทฤษฎี ทางด้านสติปัญญา เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กสามารถอยู่รอด และปรับตัวในการดำรงชีวิตในประจำวัน

บรรยากาศในห้องเรียน
  อุปกรณ์ในการเรียนการสอนพร้อม 

การประเมิน
การประเมินตนเอง 
 เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น แต่งกายถูกระเบียบ มีความสุขในการเรียน
การประเมินเพื่อน    
เพื่อนๆตั้งใจเรียนทุกคน สามารถออกความเห็นในเมื่อการอาจารย์ถามได้
การประเมินอาจารย์  
อาจารย์สอนได้เข้าใจ อธิบายให้เราเห็นภาพ แต่งกายเรียบร้อบ สอนสนุก

โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู



http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=3429

จากที่ได้ดูคลิป ครูสุวรรณา ชโลวัฒนะ โรงเรียนบ้านเหมืองแร่     จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่จัดกิจกรรมสอนปฐมวัยโดยยึดหลัก                       
      กระบวนการให้นักเรียนได้จดจำเป็นการสอนในระดับอนุบาลเพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักของใช้และของเล่น มีของจริงให้นักเรียนได้ดู แล้วจัดของลงในตระกร้าของเล่นและตระกร้าของจริง มีการใช้กลองตีบอกจังหวะการกระโดด และสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนโดยใช้การเล่านิทานและมีตุ๊กตาประกอบ นักเรียนจะสนใจฟังนิทานมาก นักเรียนรู้จัการสังเกตของเล่นและของใช้ ถ้าใครทำไม่ได้ ครูจะถามว่ามีใครจะช่วยบ้างไหม เป็นการฝึกให้นักเรียนมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือเพื่อนๆ ถ้าใครทำได้ก็จะปรบมือชม นอกจากนี้ครูยังใช้งานประดิษฐ์ คือ ม้วนกระดาษติดกับไม้ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อนิ้วมือ ช่วยฝึกสมาธิและพัฒนาการของเด็กด้วย 
นำมาประยุกต์ใช้
         สามารถนำวิธีการดังกล่าวข้างต้นมาปรับประยุกต์ใช้ในการฝึกการเรียนรู้เรื่องของเล่นและของใช้ให้แก่นักเรียน รวมทั้งการเล่านิทานก็เป็นวิธีการที่เหมาะกับนักเรียนระดับอนุบาลอย่างยิ่ง

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 14 มกราคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  2

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 14 มกราคม 2558 เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เวลาเข้าสอน 08.30น. เวลาเข้าเรียน 08.30น.เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาที่เรียน

ความหมายของคณิตศาสตร์
         คณิตศาสตร์ว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง มิได้หมายถึงเพียงตัวเลข สัญลักษณ์เท่านั้น คณิตศาสตร์ มีความหมายกว้างมาก คณิตศาสตร์เกี่ยวกับการคิดจึงเป็นรากฐานแห่งความเจริญในด้านต่าง ๆ อีกทั้งมีภาษาเฉพาะตัวของมันเองเป็นภาษาที่กำหนดขึ้นด้วยสัญลักษณ์ที่รัดกุม และสื่อความหมายถูกต้อง คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล และวิชาที่มีแบบแผน มีวิธีการและหลักการที่แน่นอน เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะในการพัฒนาการเรียนการสอน การที่จะทำให้คณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยจัดให้มีความสัมพันธ์กันและคำนึงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
  1. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่ หรือเกือบจะเป็นจริง ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น

2. คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม สัญลักษณ์ที่รัดกุม สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด เช่น อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด สมการ 3+5 = 8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms) เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้

3. คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้ โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว สัจพจน์ คุณสมบัติ กฎ ซึ่งทำให้เกิดความคิด

ที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป

4. คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน ที่ว่ามีแบบแผนนั้น หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้ เช่น คลื่นวิทยุ โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์

5. คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด ของความคิดและความสัมพันธ์ การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ประโยชน์ของคณิตศาสตร์

              ประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าความรู้ทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจผู้เป็นนักธุรกิจต้องใช้ความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ช่วยคิดคำนวณผลิตผล คิดต้นทุนกำไร และการใช้การพยากรณ์แนวโน้มของการตลาด การกำหนดเวลา การกำหนดราคาขาย กำไร เป็นต้น นอกจากนี้การประกอบอาชีพรับราชการก็จำเป็นจะต้องอาศัยคณิตศาสตร์ช่วยในการวางแผนการปฏิบัติงานด้วย   ในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคนต้องใช้คณิตศาสตร์และเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อยู่เสมอจนบางครั้งยังไม่ทันนึกว่าเราต้องใช้คณิตศาสตร์อยู่ อาทิเช่น ในการดูเวลา การซื้อขาย การชั่ง การตวง การวัด ระยะทางและการติดต่อสื่อสาร การกำหนดรายรับรายจ่ายในครอบครัว หรือแม้แต่การเล่นกีฬา เป็นต้น


ทักษะทางคณิตศาสตร์
     1. ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ ขอบข่ายของเนื้อหา วิธีสอน วิธีการจัดกิจกรรม การใช้สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
    2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก
    3. จัดหาสื่อที่เด็กสามารถจับต้องได้ให้เพียงพอ โดยใช้ของจริง ของจำลอง รูปภาพจากสิ่งแวดล้อมที่เด็กคุ้นเคย สื่อที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ วัสดุที่ทำขึ้นเอง วัสดุราคาถูก วัสดุเหลือใช้ และวัสดุท้องถิ่น

การนำมาประยุกใช้
             สามารถนำความรู้ที่ได้ทราบถึง ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ และทักษะทางคณิตศาสตร์ นำไปใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน และได้ความรู้เพิมเติมทางคณิตศสตร์ยิ่งขึ้น

ประเมินผู้สอน
            คุณครูแต่งตัวสุภาพ พูดจาชัดเจน  อฺบายได้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน

บรรยากาศในห้องเรียน
          ห้องเรียนบรรยากาศไม่อำนวย อุปกรณสื่อการสอนในห้องไม่พร้อม ไม่มีโปรเจคเตอร์ อาจารย์จึงปรับรูปแบบเป็นการเรียน แบบกลุ่ม กลุ่ม 4 คน  แบ่งกันตามหัวข้อ แลกเปลี่ยนความคิดของแต่ละกลุ่มที่ได้หัวข้อต่างๆ เสร็จกลับมาสรุปที่กลุ่มเดิม แลกเปลี่ยนความคิด พร้อมออกไปนำเสนอหน้าห้องเรียน





วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย

          ศึกษางานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้




คลิกอ่านงานวิจัยได้ที่นี่

บทที่1
         การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมาย เพื่อการศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปะสรางสรรคเพื่อการเรียนรู โดยใช้เด็กชาย – หญิง อายุ 5 – 6 ป กําลังศึกษาอยูในชั้น อนุบาลศึกษาปที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตโดยสุมตัวอย่างมา จํานวน 15 คน เพื่อรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบศิลปะสรางสรรคเพื่อการ เรียนรูเปนระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญต่อการให้การศึกษา เพราะการศึกษาคือการพัฒนาให้คนมีความรู้ที่สามารถสร้างตนให้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงการสร้างชาติให้อรุ่งเรืองได้ ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัย นั้นศิลปะยังเป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินที่กระตุ้นการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่แทรกอยู่ได้ทุกกิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้สำรวจค้นคว้า เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มและจินตนาการ อันจะส่งผลให้เด็กมีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักการสังเกต ทั้งนี้กิจกรรมศิลปะจะช่วยให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี รูปทรง รูปร่าง พื้นผิว พื้นที่ว่าง น้ำหนัก อ่อน – แก่ของสี การที่เด็กได้วาดภาพซักภาพก็เป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่า เขาได้เรียนรู้แล้วมีประสบการณ์ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวในระดับใด เป็น การเรียนรู้จากการใช้ความรู้สึกสัมผัสอย่างแท้จริง พบว่าสามารถจัดศิลปะเพื่อการเรียนรู้ได้ จำแนกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้
1. ศิลปะย้ำ เรียกว่า การย้ำการเรียนรู้ด้วยศิลปะ
2. ศิลปะถ่ายโยง เรียกว่า ถ่ายทอดการเรียนรู้เป็นศิลปะ
3. ศิลปะปรับภาพ เรียกว่า ปรับภาพการเรียนรู้เป็นงานศิลปะ
4. ศิลปะเปลี่ยนแบบ เรียกว่า เปลี่ยนสิ่งเรียนรู้สู่งานศิลปะ
5. ศิลปะบูรณาการ เรียกว่า บูรณาการเรียนรู้ที่สู่ศิลปะ
6. ศิลปะค้นหา เรียกว่า ค้นหาความรู้จากศิลปะ
     ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรนำไปทดลองใช้เพื่อศึกษาดูว่าเด็ก สามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้จริงหรือไม่ และผลการวิจัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เป็นอย่างไร จะเป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรมเพื่อ การจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยมาใช้ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยหรืออาจนำไปประยุกต์ในกับการพัฒนาทักษะอื่นๆ สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป


ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
2.1. การบอกตำแหนง
2.2. การจำแนก
2.3. การนับปากเปล่า 1 – 30
2.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 –20
2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน 1 – 10


บทที่2


เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      สรุปได้ว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ เด็กปฐมวัย หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับ การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียนรู้สัญลักษณ์ของคณิตศาสตร์เพื่อให้โอกาสเด็กได้สร้างความรู้และทักษะ เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักค้นคว้าแก้ปัญหาเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผลและใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป
จุดมุ่งหมายในการเตรียมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
    การเตรียมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัยเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับต่อไป และมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบมีทักษะในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจากทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังกล่าวสรุปได้ว่าหลักสำคัญอยู่ที่กระบวนความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ตั้งแต่การรู้ค่าจำนวน การจัด หมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้เด็กจะ เรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรงที่เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในชีวิตประจำวัน หรือ การจัดกิจกรรมของครูแต่ในการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเพื่อที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     สรุปได้ว่า หลักการสอน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องเน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจอย่างถองแท้และสามารถบูรณาการ ให้เข้ากับกิจกรรมอื่น ๆ ได้และเรียนรู้อย่างมีความสุข
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยต้องเรียนสาระทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรเน้นให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จากเรื่องง่ายไปยาก จากรูปธรรมไปนามธรรมเด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นคว้า และแก้ปัญหา จากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและเป็นการขยายประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีครูเป็นผู้จัดกิจกรรมและคอยสังเกตดูแลให้ความช่วยเหลือเด็ก จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยความสามารถและความแตกต่างระหว่างเด็กแต่ละคน ซึ่งหากเด็กในวัยนี้ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นอย่างดีย่อมเป็นรากฐานของการเรียนรู้และเข้าใจที่ดีต่อคณิตศาสตร์ในระดับสูงต่อไป
     งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะในการเรียนรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กในระดับปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะฝึกให้เด็กมีทักษะเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การจัดลำดับและการรู้ค่าตัวเลขซึ่งมีการจัดประสบการณ์ได้หลายรูปแบบ เช่นการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่น หรือกิจกรรมที่หลากหลาย หรือจัดสอดแทรกตามมุมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความมีสุข ด้วย หลักการดังกล่าว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
      2. เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะจากความหมายศิลปะดังกล่าวสรุปได้ว่า ศิลปะ หมายถึง การแสดงออกโดยผ่านสื่อ ผลงานซึ่งเป็นการสื่อสารความคิด ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากประสบการณ์ และจินตนาการณ์ของแต่ละคน อิสระในการแสดงออกทางผลงานซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
      สรุปได้ว่า   ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย ควรคำนึงความเหมาะสมกับพัฒนาการและความต้องการของเด็ก ในเด็กปฐมวัยควรมีกิจกรรมที่หลากหลายมีสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย มีทั้งการจัดกิจกรรมแบบ 2 มิติ และ 3 มิติจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจค้นพบ และทดลอง และ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็ก มีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมศิลปะประเภทใช้สีน้ำ การระบายสี การพิมพ์สี ด้วยวัสดุที่แตกต่างกันจะช่วยสร้างผลงานที่แตกต่างกันด้วยซึ่งการเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยชองเด็กเป็นสำคัญ งานกระดาษ ฉีกปะ แปะติด ตัด และงานประดิษฐ์ผลงานจากเศษวัสดุ เช่น โฟม เป็นต้น กิจกรรมจะช่วยพัฒนาการด้าน ต่างๆ ของเด็กให้เป็นไปตามวัยบทบาทของครูศิลปะปฐมวัย
      สรุปได้ว่า บทบาทของครูศิลปะปฐมวัย ครูควรทดลองทำกิจกรรมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรม และควรจัดกิจกรรมให้น่าสนใจมีอุปกรณ์ที่หลากหลาย และจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยและกิจกรรม โอกาสให้เด็กทำงานศิลปะอย่างอิสระ แต่ครูจะต้องคอยให้คำแนะนำหรือชี้แนะเมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือ ในการสาธิตกิจกรรมครูควรในคำอธิบาลที่ง่ายแก่การเข้าใจ และไม่ควรวิจารณ์งานของเด็ก แต่ควรให้กำลังใจ

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย
1.1ประชากร
     ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน
    1.2การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละออ อุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน และได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้การวิจัย
   2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่
    2.1.1 แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
    2.1.2 แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรม
2.2 การสร้างแผนการจัดกิจกรรม
    2.2.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้จาก

งานวิจัยของ ดร. กุลยา ตันติผลาชีวะ (2004)
2.2.2 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
2.2.3 ศึกษาหลักสูตรและคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช          2546
2.2.4 ศึกษาแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของโรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
2.2.5 กำหนดเนื้อหาการเรียนรู้จากประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือกำหนดสาระการเรียนรู้และเนื้อหาการเรียนรู้จากประสบการณ์ และเรียงลำดับความยาก – ง่าย โดยคำนึงถึงประสบการณ์และพัฒนาการของเด็กและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการวิจัยได้กำหนดเนื้อหาการเรียนรู้เป็น 8 หน่วยการเรียน ได้แก่ รถยนต์ต้นไม้ น้ำ สัตว์ ดิน อาหาร เงิน และขยะ โดยในแต่ละหน่วยการเรียนกำหนดเป็นสัปดาห์ละ 3 เรื่อง
2.2.6 การเลือกใช้ศิลปะให้สอดคล้องกับสาระ ผู้วิจัยกำหนดไว้ดังนี้
   1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้จาก งานวิจัยของ ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2004) จากทั้งหมด 6 รูปแบบ ดังนี้ ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับ ภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบ ศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้าหา ผู้วิจัยได้คัดเลือก รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กอายุ 5 – 6 ปี
    2) การสร้างกรอบแผนการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในแต่ละหน่วยการเรียนโดยกำหนดเป็นสัปดาห์ละ 3 เรื่อง และเน้นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์วันละ 1 เรื่อง เป็นทักษะหลักที่สัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์ และหมุนเวียนการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ตลอดการทดลองให้เท่ากัน
   3) หลักการใช้รูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ผู้วิจัยจำต้องกำหนด รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ ให้มีรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ทั้ง3กิจกรรมและเลือกใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้วันละ 1กิจกรรม ให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้และทักษะพื้นฐานทางคณิตสตร์ โดยการคัดเลือกกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้เป็นรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับแผนการจัดกิจกรรมของผู้วิจัย ซึ่งจะต้องมีความ เหมาะสมกับรูปแบบและขั้นตอนของศิลปะแต่ละรูปแบบ โดยลักษณะของการนำไปใช้ ดังนี้ เช่นศิลปะเปลี่ยนแบบ คือ การเปลี่ยนสิ่งที่เด็กเรียนรู้มาสร้างเป็นงานศิลปะด้วยการเปลี่ยนรูปแบบและเลือกใช้ในการสร้างผลงาน ศิลปะบูรณาการ คือการนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการเป็นภาพการปั้น หรือสิ่งประดิษฐ์ และค้นหา คือ การหาความรู้ด้วยการเรียนรู้จากภาพศิลปะ หรือผลงาน ศิลปะมาให้เด็กค้นหาและศึกษาอย่างมีจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ในการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มี 5 ขั้น คือ
   4.1 ขั้นเตรียมความพร้อม
       - ครูนำเข้าสู่บทเรียน
       - ครูบอกจุดประสงค์การเรียนรู้
   4.2 ขั้นสะท้อนความคิด
      - ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็ก บอก เล่า อธิบาย หรืออภิปรายสิ่งที่กระทำโดยสัมพันธ์กับข้อความรู้ที่เรียน
    - ครูให้เด็กตรวจสอบทบทวนความรู้ความเข้าใจจากงานศิลปะที่ทำ
  4.3 ขั้นสรุป
      -ครูกับเด็กสรุปสิ่งที่เรียนรู้
  4.4 เตรียมสื่ออุปกรณ์
  4.5 กำหนดแนวการประเมินภาพการสอน
2.3 การหาคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นสื่อการเรียนรู้ให้อาจารย์ผู้สอนในระดับศึกษาปฐมวัย จำนวน 3 ท่าน ที่สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป มีประสบการณ์สอนอย่างน้อย 5 ปี ตรวจสอบจากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำและนำแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปตรวจสอบความยากง่ายทางสถิติ


  บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เป็น 3 ตอน ดังนี้
    1. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวม 5 ทักษะ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
    2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
    3. วิเคราะห์ระดับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวม 5 ทักษะ และจำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการทดลอง

     สรุปได้ว่า หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เด็ก ปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นสรุปหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เด็ก ปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับปากเปล่า 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด 1 – 10 แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และทุกทักษะมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น

     จากความเห็นเบื้องต้น เด็กปฐมวัยกลุ่มคะแนนสูงที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีระดับความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำแนกรายทักษะทั้ง 5 ทักษะ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับดีแต่หลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับ ดีมาก และมีคะแนนนัยทางสถิติเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมหลังการทดลองโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก

บทที่ 5

สรุปอภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ

     ในการวิจัยครั้งนี้ทดลองเพื่อมุ่งศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูและ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป

สรุปผลการวิจัย
    1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
   2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น

ข้อสังเกตการวิจัย
   1. ในการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ครูจำเป็นต้องปฏิบัติตามแผนการจัดกิจกรรม
    2. สื่อการเรียนการสอนต้องมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนเด็ก
    3. ในการทำกิจกรรมขั้นนำเข้าสู่งานศิลปะในช่วงแรก ๆ เด็กยังไม่เข้าใจรูปแบบการทำศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จึงต้องแนะนำ และสาธิตวิธีการทำศิลปะก่อน
    4. ในการถามคำถามให้เด็กคิด ครูควรกระตุ้นให้เด็กที่ไม่กล้าแสดงความคิดได้แสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นการตั้งปฏิบัติในการนำเสนองานกลุ่ม คือ ผู้ที่ออกมานำเสนอต้องไม่ซ้ำและหมุนเวียนจนครบทุกคน
    5. หลังจากการเรียนรู้ขั้นสรุปสาระสำคัญที่เรียนรู้ ครูควรกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้รวมกันเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นการสร้างความคิดรวบยอดรวมกัน
    6. การจัดการเรียนการสอนที่ดีควรให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กัน เด็กควรทำกิจกรรมกลุ่มกลุ่มละ 2 – 5 คนเหมาะสมที่สุดเพราะเด็กจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเฉพาะการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบศิลปะทั้ง 3 รูปแบบ คือ ศิลปะบูรณาการ ศิลปะเปลี่ยนแบบและศิลปะค้นหาสามารถทำรวมกันได้


ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย
    1. ควรมีการศึกษาการนำกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบอื่นมาจัดกิจกรรมให้เด็กเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ฯลฯ ที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบการเรียนรู้ เช่น ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้นหา เพื่อศึกษาความแตกต่าง
    2. ควรมีการนำรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กหญิงและเด็กชาย เพื่อหาความแตกต่างในการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะแบบเดียวกัน
   3. ควรมีการศึกษาความแตกต่างในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ระหว่างสื่อของจริงและสื่อจำลอง และเปรียบเทียบความภูมิใจของเด็กในตนเองของเด็กปฐมวัยในการทำศิลปะเพื่อการเรียนรู้
   4. ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แต่ละรูปแบบว่าแบบใดพัฒนาทักษะได้มากกว่ากัน
    5. ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แบบกลุ่ม และรายบุคคล ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
สรุปบทความ


      ธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องจำนวน หากเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของจำนวน เด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การบวก ลบ ต่อไปได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้รู้ค่ารู้จำนวน จึงเป็นสิ่งที่ครูจะละเลยไม่ได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่งคือ จะใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆตัว และต้องทำซ้ำๆสม่ำเสมอ เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้จำนวนโดยการสัมผัสของจริงแล้ว ก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่เป็นนามธรรมได้บ้าง เช่น การใช้ภาพเป็นสื่อแทนของจริง