วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวัน พุธ ที่ 28 มกราคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญวัน/เดือน/ปี วันพุธ 28 มกราคม 2558เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาในการเรียน

- เพื่อนเซอร์ไพร์วันเกิดในห้อง อาจารย์เลยจัดกิจกรรมให้นักศึกษาบอกตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับวันเกิด
- ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 
- จัดกิจกรรมให้นักศึกษา เขียน-ชื่อเล่นของตัวเองลงในกระดาษ แล้วใครมาก่อนให้ออกไปติดหน้ากระดาน ใครมาก่อน 8.00 น. ให้ติดด้าน มาหลังแปดโมงติดด้านหลัง 

- จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ดังนี้

               1. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคุณคำศัพท์และสัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
         2. เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก หรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
         3. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การจดบันทึก การชั่งน้ำหนัก
         4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การลำดับ
         5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ความอยากรู้ และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม
         6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
- ทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ดังนี้
      1. ทักษะการสังเกต(Observation) คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้  
       2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม
      3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์  เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง
      4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering) คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
      5. ทักษะการวัด(Measurement)คือ เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้
      6. ทักษะการนับ(Counting) คือ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน
      7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size) คือ
เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น
           
วิธีการสอน
- อาจารย์ทบทวนบทเรียนสัปดาห์ที่แล้วเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
- ยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงจากวันเกิดของเพื่อนแล้วนำมาวิเคราะห์ในตัวเลข
- นำเสนอโทรทัศน์ครูจากเพื่อน

การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้
- ใช้ทักษะในการวิเคราะห์ตัวเลขในเหตุการณ์การจริง
- แบบทดสอบก่อนเรียนสามารถทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น
การประยุกต์ใช้
- นำไปจัดกิจกรรม จัดประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์ให้เด็กเข้าใจมากขึ้น สามารถให้เด็กเข้าใจตัวเลขในเหตุการณ์จริง

บรรยากาศในชั้นเรียน
- เครื่องมือพร้อม ห้องสะอาด

การประเมิน
ประเมินตนเอง  เข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

ประเมินเพื่อน    เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ร่วมมือกันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์  อาจารย์สอนเข้าใจ สอนสนุก ทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น