วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 21 มกราคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21 มกราคม 2558 เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น.เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาในการเรียน
 1.ได้รับฟังการนำเสนองานวิจัยจากเพื่อน
 2.ความหมายและประโยชน์ขอพัฒนาการ
   
แนวคิดการเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา

  - ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
             

             1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู


              2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปีแบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้นคือ
                ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข


             3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล


             4.ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
  
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
            1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
            2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
            3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้


ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวก๊อตสกี้ (Vygotsky)
           ทฤษฎีของวัฒนธรรมและสังคมของ เลฟ ไวก๊อตสกี (Lev Vygotsky) ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก ทฤษฎีนี้กล่าวว่า สังคมและวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมความฉลาดและกระบวนการเรียนรู้ในพัฒนาการของเด็ก


พัฒนาการทางด้านสติปัญญามีความสัมพันธ์กับสมอง คือ 
การทำงานของสมองพัฒนาเป็นลำดับขั้นตอน

           การจัดประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.เป็นรูปธรรม
2.ใช้สื่อที่หน้าสนใจ
3.ให้เด็กมีส่วนร่วม
4.ใช้เวลาไม่นาน

วิธีการสอน
- อธิบายถึงเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิด ถามตอบ
- อาจารย์ให้ร้องเพลง พร้อมการฝึกแปลงเพลง เพื่อจะจัดกิจกรรมให้เข้ากับบทเรียน
- อาจารย์สรุปเนื้อหา เข้าใจในเนื้อหาี่เรียนมากยิ่งขึ้น

ทักษะที่ได้รับ
- การทำงานของสมองมีความสำคัญอย่างยิ่งถึงพัฒนาการ
- การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ทำให้รู้ได้อย่างถูกต้อง
- การแปลงเพลงคณิตศ่าสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถดัดแปลงได้หลายรูปแบบ

การนำมาประยุกต์ใช้
  นำความรู้ที่ได้รับมาจัดประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับพัฒนาการด้านสติปัญญา ตามแนวคิดของนักทฤษฎี ทางด้านสติปัญญา เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กสามารถอยู่รอด และปรับตัวในการดำรงชีวิตในประจำวัน

บรรยากาศในห้องเรียน
  อุปกรณ์ในการเรียนการสอนพร้อม 

การประเมิน
การประเมินตนเอง 
 เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น แต่งกายถูกระเบียบ มีความสุขในการเรียน
การประเมินเพื่อน    
เพื่อนๆตั้งใจเรียนทุกคน สามารถออกความเห็นในเมื่อการอาจารย์ถามได้
การประเมินอาจารย์  
อาจารย์สอนได้เข้าใจ อธิบายให้เราเห็นภาพ แต่งกายเรียบร้อบ สอนสนุก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น