วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




กรอบมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คลิก



สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
       มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
  มาตรฐานค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด
  มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
  มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
  มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
   มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญวัน/เดือน/ปี 
วันพุธ 18 กุมภาพันธ์ 2558 
เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาที่เรียน
     - อาจารย์จัดกิจกรรมเขียนชื่อบนกระดาน เรื่องเวลาเรียน(นาฬิกา)ซึ่งเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชวิตประจำวันได้คือ
              1. ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเวลา ตัวเลข
              2. ทำให้ได้รู้การเรียงลำดับ การมาก่อน มาหลัง

              3. ทำให้ได้เรียนรู้ด้านภาษา
- ทบทวนสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ทบทวนเพลง
- นำเสนอโทรทัศน์ครู เลขที่17 เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า คู่  ขี่ การบวกเลขง่ายๆโยนลูกเต๋าใช้เป็นสื่อประกอบ

- รูปแบบการจัดประสบการณ์
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์  เเบบบูรณาการ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ เเบบโครงการ
3.รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
4.รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบ STEM
5.รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบ มอนเตสเซอรี่
6 รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง


รูปแบบการจัดประสบการณ์ คือ การนำศาสตร์เเต่ละอย่างมารวมกันเพื่อให้เกิดความรู้ และมีทักษะเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆในชีวิตจริงได้ทำให้เกิดความรู้ใหม่

การนำไปใช้ เด็ก ต้อง  ควร อยาก รู้อะไร
                     เด็ก ต้อง ควร อยาก ทำอะไร

สาระการเรียนรู้
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อม
3.เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว 
4.เรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก 

-  ทำมายแมพกิจกรรมแผนการการจัดประสบการณ์
บูรณาการ

ทักษะที่ได้รับ
- ได้ฝึกการคิดได้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนอย่างถูกต้อง

- ได้ฝึกการเขียนตัวอย่างแผนกการจัดประสบการ์บูรณาการอย่างถูกต้อง

วิธีการสอน
  -  ให้เด็กได้ฝึกการคิดตอบคำถาม ลงมือปฎิบัติเองและอาจารย์สรุปองค์ความรู้ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


การประยุกต์ใช้
   -  นำความรู้ที่ได้เรียนไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้เด็ก และบูรณาการให้เด็กได้เรียนรู้ตามเนื้อหาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ต่อไป
บรรยากาศในชั้นเรียน
    -  ห้องเรียนเหมาะแก่การเรียนรู้ อุปกรณ์ในการเรียนพร้อม

การประเมิน
ประเมินตนเอง
   -   เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น มีความตั้งใจในงานที่อาจารย์มอบหมายอย่างเข้าใจ
ประเมินเพื่อน
   -   เพื่อนให้ความร่วมมือในกิจกรรมอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
   -  อธิบายเนื้อหาให้นักศึกษาเข้าใจ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เสียงดังฟังชัด

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี วันพุธ 11 กุมภาพันธ์ 2558 
เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 12.20

เนื้อหาที่เรียน
- เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถสอดแทรกได้ในทุกการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน เนื้อเรื่องสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ กิจรรมควรให้เด็กลงมือปฎิบัติด้วยตัวเองผ่านการเล่น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อีกด้วย
1.นิทาน
2.เพลง
3.เกม
4.คำคล้องจอง
5.ปริศนาคำทาย
6.บทบาทสมมุติ
7.เเผนภูมิภาพ
8.การประกอบอาหาร

ภาษาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

ทักษะที่ได้รับ
- ได้ฝึกการคิดลองผิดลองถูกจากิจกรรมที่ครูจัด
-  ได้เข้าใจในเนื้อหาและเทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น

วิธีการสอน
- อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติจริง และฝึกการคิดแก้ปัญหา
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน แลกเปลี่ยนการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้
- นำเทคนิคการจัดประการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปบูรณาในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในวิชาอื่นๆในการสอนเด็กปฐมวัยต่อไป

บรรยากาศในชั้นเรียน
- มีความพร้อม ห้องสะอาด

การประเมิน

ประเมินตนเอง
- เข้าใจถึงเนื้อหามากขึ้น
- แต่งกายถูกระเบียบ

ประเมินเพื่อน
- ให้ความร่วมมือนการทำกิจกรรมทุกคน


ประเมินอาจารย์
- อธิบายเนื้อหาที่เรียนได้อย่างเข้าใจ มีเพลงใหม่ๆพร้อมกิจรรมใหม่ทุกวัน

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญวัน/เดือน/ปี วันพุธ 4 กุมภาพันธ์ 2558 
เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 11.20


เนื้อหาในการเรียน

1.อาจารย์จัดกิจกรรมให้นักศึกษาเขียนชื่่อตนเองลงในป้ายคำเเล้วนำไปติดบนกระดาน ว่าใครมาโรงเรียนเพื่อเด็กจะได้ฝึกการนับจำนวนและได้รู้ว่านักเรียนมากี่คน



เด็กต้องเรียนเป็นลำดับขั้นเริ่มจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง
การสอนเราควรสอนแบบบูรณาการ คือกิจกรรมหนึ่งจะเเทรกทักษะต่างๆเข้าไปด้วย



2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยมี 6 สาระ ดังนี้

                  1.จำนวนละการดำเนินการ เข้าใจถึงความหลากหลาย
                  2.การวัด เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด เปรียบเทียบ
                  3.เรขาคณิต รู้จัการจำเเนกรูปเรขาคณิต
                  4.พีชคณิต ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
                  5.การวัดวิเคราห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น รวบรวมข้อมูลเกียวกับตนเอง
                  6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การเเก้ปัญหา การใช้เหตุผล


3.สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฎิบัติในชั้นเรียนได้อย่างไร
            เด็กสามารถเเก้ปัญหาทักษะทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานเเละยังเป็นการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษา

เนื้อหาสาระสอดคล้องกับพัฒนาการ

เพลง


เพลง เข้าแถว 

เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนว ยืนเรียงกัน 
อย่า มัวแชเชือน เดินตาม เพื่อนให้ทัน 
ระวัง เดินชนกัน เข้าแถวกัน ว่องไว


เพลง จัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนตัวให้ตรง         ก้มหัวลงตบมือแผละ
                                 แขนซ้ายอยู่ไหน      หันหัวไปทางนั้นแหละ                                       


ทักษะที่ได้รับ
  - ได้ฝึกทักษะการคิดการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
  - เข้าใจในเนื้อหาสาระมากขึ้น


วิธีการสอน
 - อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติจริง และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
 -  นำความรุ้จากในหนังสือ คือ ให้เพื่อนนำเสนอบทความเพื่อจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นขึ้นจริงและอาจารย์อธิบายให้เข้าใจ

การประยุกต์ใช้
- นำความรู้เกี่ยวกับสาระและมาตรฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยนำไปจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อไป


บรรยากาศในชั้นเรียน
- ห้องมีความเป็นระเบียบ อุปกรณ์สื่อการสอนพร้อม

การประเมิน

ประเมินตนเอง
- เข้าใจเนื้อหามากขึ้น 
- ตั้งใจเรียนมีสมาธิมากขึ้น

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามดีมาก

ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพ พูดจาได้เข้าใจ อธิบายเนื้อในการเรียนเข้าใจมาก

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวัน พุธ ที่ 28 มกราคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญวัน/เดือน/ปี วันพุธ 28 มกราคม 2558เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาในการเรียน

- เพื่อนเซอร์ไพร์วันเกิดในห้อง อาจารย์เลยจัดกิจกรรมให้นักศึกษาบอกตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับวันเกิด
- ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 
- จัดกิจกรรมให้นักศึกษา เขียน-ชื่อเล่นของตัวเองลงในกระดาษ แล้วใครมาก่อนให้ออกไปติดหน้ากระดาน ใครมาก่อน 8.00 น. ให้ติดด้าน มาหลังแปดโมงติดด้านหลัง 

- จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ดังนี้

               1. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคุณคำศัพท์และสัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
         2. เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก หรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
         3. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การจดบันทึก การชั่งน้ำหนัก
         4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การลำดับ
         5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ความอยากรู้ และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม
         6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
- ทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ดังนี้
      1. ทักษะการสังเกต(Observation) คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้  
       2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม
      3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์  เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง
      4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering) คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
      5. ทักษะการวัด(Measurement)คือ เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้
      6. ทักษะการนับ(Counting) คือ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน
      7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size) คือ
เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น
           
วิธีการสอน
- อาจารย์ทบทวนบทเรียนสัปดาห์ที่แล้วเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
- ยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงจากวันเกิดของเพื่อนแล้วนำมาวิเคราะห์ในตัวเลข
- นำเสนอโทรทัศน์ครูจากเพื่อน

การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้
- ใช้ทักษะในการวิเคราะห์ตัวเลขในเหตุการณ์การจริง
- แบบทดสอบก่อนเรียนสามารถทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น
การประยุกต์ใช้
- นำไปจัดกิจกรรม จัดประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์ให้เด็กเข้าใจมากขึ้น สามารถให้เด็กเข้าใจตัวเลขในเหตุการณ์จริง

บรรยากาศในชั้นเรียน
- เครื่องมือพร้อม ห้องสะอาด

การประเมิน
ประเมินตนเอง  เข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

ประเมินเพื่อน    เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ร่วมมือกันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์  อาจารย์สอนเข้าใจ สอนสนุก ทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน