วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 21 มกราคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21 มกราคม 2558 เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เข้าสอน 08.30น. เข้าเรียน 08.30น.เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาในการเรียน
 1.ได้รับฟังการนำเสนองานวิจัยจากเพื่อน
 2.ความหมายและประโยชน์ขอพัฒนาการ
   
แนวคิดการเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา

  - ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
             

             1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู


              2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปีแบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้นคือ
                ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข


             3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล


             4.ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
  
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
            1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
            2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
            3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้


ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวก๊อตสกี้ (Vygotsky)
           ทฤษฎีของวัฒนธรรมและสังคมของ เลฟ ไวก๊อตสกี (Lev Vygotsky) ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก ทฤษฎีนี้กล่าวว่า สังคมและวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมความฉลาดและกระบวนการเรียนรู้ในพัฒนาการของเด็ก


พัฒนาการทางด้านสติปัญญามีความสัมพันธ์กับสมอง คือ 
การทำงานของสมองพัฒนาเป็นลำดับขั้นตอน

           การจัดประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.เป็นรูปธรรม
2.ใช้สื่อที่หน้าสนใจ
3.ให้เด็กมีส่วนร่วม
4.ใช้เวลาไม่นาน

วิธีการสอน
- อธิบายถึงเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิด ถามตอบ
- อาจารย์ให้ร้องเพลง พร้อมการฝึกแปลงเพลง เพื่อจะจัดกิจกรรมให้เข้ากับบทเรียน
- อาจารย์สรุปเนื้อหา เข้าใจในเนื้อหาี่เรียนมากยิ่งขึ้น

ทักษะที่ได้รับ
- การทำงานของสมองมีความสำคัญอย่างยิ่งถึงพัฒนาการ
- การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ทำให้รู้ได้อย่างถูกต้อง
- การแปลงเพลงคณิตศ่าสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถดัดแปลงได้หลายรูปแบบ

การนำมาประยุกต์ใช้
  นำความรู้ที่ได้รับมาจัดประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับพัฒนาการด้านสติปัญญา ตามแนวคิดของนักทฤษฎี ทางด้านสติปัญญา เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กสามารถอยู่รอด และปรับตัวในการดำรงชีวิตในประจำวัน

บรรยากาศในห้องเรียน
  อุปกรณ์ในการเรียนการสอนพร้อม 

การประเมิน
การประเมินตนเอง 
 เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น แต่งกายถูกระเบียบ มีความสุขในการเรียน
การประเมินเพื่อน    
เพื่อนๆตั้งใจเรียนทุกคน สามารถออกความเห็นในเมื่อการอาจารย์ถามได้
การประเมินอาจารย์  
อาจารย์สอนได้เข้าใจ อธิบายให้เราเห็นภาพ แต่งกายเรียบร้อบ สอนสนุก

โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู



http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=3429

จากที่ได้ดูคลิป ครูสุวรรณา ชโลวัฒนะ โรงเรียนบ้านเหมืองแร่     จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่จัดกิจกรรมสอนปฐมวัยโดยยึดหลัก                       
      กระบวนการให้นักเรียนได้จดจำเป็นการสอนในระดับอนุบาลเพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักของใช้และของเล่น มีของจริงให้นักเรียนได้ดู แล้วจัดของลงในตระกร้าของเล่นและตระกร้าของจริง มีการใช้กลองตีบอกจังหวะการกระโดด และสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนโดยใช้การเล่านิทานและมีตุ๊กตาประกอบ นักเรียนจะสนใจฟังนิทานมาก นักเรียนรู้จัการสังเกตของเล่นและของใช้ ถ้าใครทำไม่ได้ ครูจะถามว่ามีใครจะช่วยบ้างไหม เป็นการฝึกให้นักเรียนมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือเพื่อนๆ ถ้าใครทำได้ก็จะปรบมือชม นอกจากนี้ครูยังใช้งานประดิษฐ์ คือ ม้วนกระดาษติดกับไม้ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อนิ้วมือ ช่วยฝึกสมาธิและพัฒนาการของเด็กด้วย 
นำมาประยุกต์ใช้
         สามารถนำวิธีการดังกล่าวข้างต้นมาปรับประยุกต์ใช้ในการฝึกการเรียนรู้เรื่องของเล่นและของใช้ให้แก่นักเรียน รวมทั้งการเล่านิทานก็เป็นวิธีการที่เหมาะกับนักเรียนระดับอนุบาลอย่างยิ่ง

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 14 มกราคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  2

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 14 มกราคม 2558 เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เวลาเข้าสอน 08.30น. เวลาเข้าเรียน 08.30น.เวลาออกจากห้องเรียน 11.20

เนื้อหาที่เรียน

ความหมายของคณิตศาสตร์
         คณิตศาสตร์ว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง มิได้หมายถึงเพียงตัวเลข สัญลักษณ์เท่านั้น คณิตศาสตร์ มีความหมายกว้างมาก คณิตศาสตร์เกี่ยวกับการคิดจึงเป็นรากฐานแห่งความเจริญในด้านต่าง ๆ อีกทั้งมีภาษาเฉพาะตัวของมันเองเป็นภาษาที่กำหนดขึ้นด้วยสัญลักษณ์ที่รัดกุม และสื่อความหมายถูกต้อง คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล และวิชาที่มีแบบแผน มีวิธีการและหลักการที่แน่นอน เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะในการพัฒนาการเรียนการสอน การที่จะทำให้คณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยจัดให้มีความสัมพันธ์กันและคำนึงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
  1. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่ หรือเกือบจะเป็นจริง ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น

2. คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม สัญลักษณ์ที่รัดกุม สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด เช่น อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด สมการ 3+5 = 8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms) เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้

3. คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้ โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว สัจพจน์ คุณสมบัติ กฎ ซึ่งทำให้เกิดความคิด

ที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป

4. คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน ที่ว่ามีแบบแผนนั้น หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้ เช่น คลื่นวิทยุ โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์

5. คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด ของความคิดและความสัมพันธ์ การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ประโยชน์ของคณิตศาสตร์

              ประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าความรู้ทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจผู้เป็นนักธุรกิจต้องใช้ความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ช่วยคิดคำนวณผลิตผล คิดต้นทุนกำไร และการใช้การพยากรณ์แนวโน้มของการตลาด การกำหนดเวลา การกำหนดราคาขาย กำไร เป็นต้น นอกจากนี้การประกอบอาชีพรับราชการก็จำเป็นจะต้องอาศัยคณิตศาสตร์ช่วยในการวางแผนการปฏิบัติงานด้วย   ในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคนต้องใช้คณิตศาสตร์และเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อยู่เสมอจนบางครั้งยังไม่ทันนึกว่าเราต้องใช้คณิตศาสตร์อยู่ อาทิเช่น ในการดูเวลา การซื้อขาย การชั่ง การตวง การวัด ระยะทางและการติดต่อสื่อสาร การกำหนดรายรับรายจ่ายในครอบครัว หรือแม้แต่การเล่นกีฬา เป็นต้น


ทักษะทางคณิตศาสตร์
     1. ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ ขอบข่ายของเนื้อหา วิธีสอน วิธีการจัดกิจกรรม การใช้สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
    2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก
    3. จัดหาสื่อที่เด็กสามารถจับต้องได้ให้เพียงพอ โดยใช้ของจริง ของจำลอง รูปภาพจากสิ่งแวดล้อมที่เด็กคุ้นเคย สื่อที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ วัสดุที่ทำขึ้นเอง วัสดุราคาถูก วัสดุเหลือใช้ และวัสดุท้องถิ่น

การนำมาประยุกใช้
             สามารถนำความรู้ที่ได้ทราบถึง ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ และทักษะทางคณิตศาสตร์ นำไปใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน และได้ความรู้เพิมเติมทางคณิตศสตร์ยิ่งขึ้น

ประเมินผู้สอน
            คุณครูแต่งตัวสุภาพ พูดจาชัดเจน  อฺบายได้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน

บรรยากาศในห้องเรียน
          ห้องเรียนบรรยากาศไม่อำนวย อุปกรณสื่อการสอนในห้องไม่พร้อม ไม่มีโปรเจคเตอร์ อาจารย์จึงปรับรูปแบบเป็นการเรียน แบบกลุ่ม กลุ่ม 4 คน  แบ่งกันตามหัวข้อ แลกเปลี่ยนความคิดของแต่ละกลุ่มที่ได้หัวข้อต่างๆ เสร็จกลับมาสรุปที่กลุ่มเดิม แลกเปลี่ยนความคิด พร้อมออกไปนำเสนอหน้าห้องเรียน





วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย

          ศึกษางานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้




คลิกอ่านงานวิจัยได้ที่นี่

บทที่1
         การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมาย เพื่อการศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปะสรางสรรคเพื่อการเรียนรู โดยใช้เด็กชาย – หญิง อายุ 5 – 6 ป กําลังศึกษาอยูในชั้น อนุบาลศึกษาปที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตโดยสุมตัวอย่างมา จํานวน 15 คน เพื่อรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบศิลปะสรางสรรคเพื่อการ เรียนรูเปนระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญต่อการให้การศึกษา เพราะการศึกษาคือการพัฒนาให้คนมีความรู้ที่สามารถสร้างตนให้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงการสร้างชาติให้อรุ่งเรืองได้ ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัย นั้นศิลปะยังเป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินที่กระตุ้นการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่แทรกอยู่ได้ทุกกิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้สำรวจค้นคว้า เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มและจินตนาการ อันจะส่งผลให้เด็กมีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักการสังเกต ทั้งนี้กิจกรรมศิลปะจะช่วยให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี รูปทรง รูปร่าง พื้นผิว พื้นที่ว่าง น้ำหนัก อ่อน – แก่ของสี การที่เด็กได้วาดภาพซักภาพก็เป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่า เขาได้เรียนรู้แล้วมีประสบการณ์ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวในระดับใด เป็น การเรียนรู้จากการใช้ความรู้สึกสัมผัสอย่างแท้จริง พบว่าสามารถจัดศิลปะเพื่อการเรียนรู้ได้ จำแนกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้
1. ศิลปะย้ำ เรียกว่า การย้ำการเรียนรู้ด้วยศิลปะ
2. ศิลปะถ่ายโยง เรียกว่า ถ่ายทอดการเรียนรู้เป็นศิลปะ
3. ศิลปะปรับภาพ เรียกว่า ปรับภาพการเรียนรู้เป็นงานศิลปะ
4. ศิลปะเปลี่ยนแบบ เรียกว่า เปลี่ยนสิ่งเรียนรู้สู่งานศิลปะ
5. ศิลปะบูรณาการ เรียกว่า บูรณาการเรียนรู้ที่สู่ศิลปะ
6. ศิลปะค้นหา เรียกว่า ค้นหาความรู้จากศิลปะ
     ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรนำไปทดลองใช้เพื่อศึกษาดูว่าเด็ก สามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้จริงหรือไม่ และผลการวิจัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เป็นอย่างไร จะเป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรมเพื่อ การจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยมาใช้ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยหรืออาจนำไปประยุกต์ในกับการพัฒนาทักษะอื่นๆ สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป


ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
2.1. การบอกตำแหนง
2.2. การจำแนก
2.3. การนับปากเปล่า 1 – 30
2.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 –20
2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน 1 – 10


บทที่2


เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      สรุปได้ว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ เด็กปฐมวัย หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับ การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียนรู้สัญลักษณ์ของคณิตศาสตร์เพื่อให้โอกาสเด็กได้สร้างความรู้และทักษะ เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักค้นคว้าแก้ปัญหาเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผลและใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป
จุดมุ่งหมายในการเตรียมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
    การเตรียมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัยเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับต่อไป และมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบมีทักษะในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจากทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังกล่าวสรุปได้ว่าหลักสำคัญอยู่ที่กระบวนความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ตั้งแต่การรู้ค่าจำนวน การจัด หมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้เด็กจะ เรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรงที่เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในชีวิตประจำวัน หรือ การจัดกิจกรรมของครูแต่ในการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเพื่อที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     สรุปได้ว่า หลักการสอน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องเน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจอย่างถองแท้และสามารถบูรณาการ ให้เข้ากับกิจกรรมอื่น ๆ ได้และเรียนรู้อย่างมีความสุข
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยต้องเรียนสาระทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรเน้นให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จากเรื่องง่ายไปยาก จากรูปธรรมไปนามธรรมเด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นคว้า และแก้ปัญหา จากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและเป็นการขยายประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีครูเป็นผู้จัดกิจกรรมและคอยสังเกตดูแลให้ความช่วยเหลือเด็ก จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยความสามารถและความแตกต่างระหว่างเด็กแต่ละคน ซึ่งหากเด็กในวัยนี้ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นอย่างดีย่อมเป็นรากฐานของการเรียนรู้และเข้าใจที่ดีต่อคณิตศาสตร์ในระดับสูงต่อไป
     งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะในการเรียนรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กในระดับปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะฝึกให้เด็กมีทักษะเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การจัดลำดับและการรู้ค่าตัวเลขซึ่งมีการจัดประสบการณ์ได้หลายรูปแบบ เช่นการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่น หรือกิจกรรมที่หลากหลาย หรือจัดสอดแทรกตามมุมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความมีสุข ด้วย หลักการดังกล่าว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
      2. เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะจากความหมายศิลปะดังกล่าวสรุปได้ว่า ศิลปะ หมายถึง การแสดงออกโดยผ่านสื่อ ผลงานซึ่งเป็นการสื่อสารความคิด ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากประสบการณ์ และจินตนาการณ์ของแต่ละคน อิสระในการแสดงออกทางผลงานซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
      สรุปได้ว่า   ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย ควรคำนึงความเหมาะสมกับพัฒนาการและความต้องการของเด็ก ในเด็กปฐมวัยควรมีกิจกรรมที่หลากหลายมีสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย มีทั้งการจัดกิจกรรมแบบ 2 มิติ และ 3 มิติจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจค้นพบ และทดลอง และ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็ก มีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมศิลปะประเภทใช้สีน้ำ การระบายสี การพิมพ์สี ด้วยวัสดุที่แตกต่างกันจะช่วยสร้างผลงานที่แตกต่างกันด้วยซึ่งการเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยชองเด็กเป็นสำคัญ งานกระดาษ ฉีกปะ แปะติด ตัด และงานประดิษฐ์ผลงานจากเศษวัสดุ เช่น โฟม เป็นต้น กิจกรรมจะช่วยพัฒนาการด้าน ต่างๆ ของเด็กให้เป็นไปตามวัยบทบาทของครูศิลปะปฐมวัย
      สรุปได้ว่า บทบาทของครูศิลปะปฐมวัย ครูควรทดลองทำกิจกรรมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรม และควรจัดกิจกรรมให้น่าสนใจมีอุปกรณ์ที่หลากหลาย และจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยและกิจกรรม โอกาสให้เด็กทำงานศิลปะอย่างอิสระ แต่ครูจะต้องคอยให้คำแนะนำหรือชี้แนะเมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือ ในการสาธิตกิจกรรมครูควรในคำอธิบาลที่ง่ายแก่การเข้าใจ และไม่ควรวิจารณ์งานของเด็ก แต่ควรให้กำลังใจ

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย
1.1ประชากร
     ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน
    1.2การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละออ อุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน และได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้การวิจัย
   2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่
    2.1.1 แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
    2.1.2 แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรม
2.2 การสร้างแผนการจัดกิจกรรม
    2.2.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้จาก

งานวิจัยของ ดร. กุลยา ตันติผลาชีวะ (2004)
2.2.2 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
2.2.3 ศึกษาหลักสูตรและคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช          2546
2.2.4 ศึกษาแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของโรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
2.2.5 กำหนดเนื้อหาการเรียนรู้จากประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือกำหนดสาระการเรียนรู้และเนื้อหาการเรียนรู้จากประสบการณ์ และเรียงลำดับความยาก – ง่าย โดยคำนึงถึงประสบการณ์และพัฒนาการของเด็กและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการวิจัยได้กำหนดเนื้อหาการเรียนรู้เป็น 8 หน่วยการเรียน ได้แก่ รถยนต์ต้นไม้ น้ำ สัตว์ ดิน อาหาร เงิน และขยะ โดยในแต่ละหน่วยการเรียนกำหนดเป็นสัปดาห์ละ 3 เรื่อง
2.2.6 การเลือกใช้ศิลปะให้สอดคล้องกับสาระ ผู้วิจัยกำหนดไว้ดังนี้
   1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้จาก งานวิจัยของ ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2004) จากทั้งหมด 6 รูปแบบ ดังนี้ ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับ ภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบ ศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้าหา ผู้วิจัยได้คัดเลือก รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กอายุ 5 – 6 ปี
    2) การสร้างกรอบแผนการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในแต่ละหน่วยการเรียนโดยกำหนดเป็นสัปดาห์ละ 3 เรื่อง และเน้นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์วันละ 1 เรื่อง เป็นทักษะหลักที่สัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์ และหมุนเวียนการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ตลอดการทดลองให้เท่ากัน
   3) หลักการใช้รูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ผู้วิจัยจำต้องกำหนด รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ ให้มีรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ทั้ง3กิจกรรมและเลือกใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้วันละ 1กิจกรรม ให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้และทักษะพื้นฐานทางคณิตสตร์ โดยการคัดเลือกกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้เป็นรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับแผนการจัดกิจกรรมของผู้วิจัย ซึ่งจะต้องมีความ เหมาะสมกับรูปแบบและขั้นตอนของศิลปะแต่ละรูปแบบ โดยลักษณะของการนำไปใช้ ดังนี้ เช่นศิลปะเปลี่ยนแบบ คือ การเปลี่ยนสิ่งที่เด็กเรียนรู้มาสร้างเป็นงานศิลปะด้วยการเปลี่ยนรูปแบบและเลือกใช้ในการสร้างผลงาน ศิลปะบูรณาการ คือการนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการเป็นภาพการปั้น หรือสิ่งประดิษฐ์ และค้นหา คือ การหาความรู้ด้วยการเรียนรู้จากภาพศิลปะ หรือผลงาน ศิลปะมาให้เด็กค้นหาและศึกษาอย่างมีจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ในการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มี 5 ขั้น คือ
   4.1 ขั้นเตรียมความพร้อม
       - ครูนำเข้าสู่บทเรียน
       - ครูบอกจุดประสงค์การเรียนรู้
   4.2 ขั้นสะท้อนความคิด
      - ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็ก บอก เล่า อธิบาย หรืออภิปรายสิ่งที่กระทำโดยสัมพันธ์กับข้อความรู้ที่เรียน
    - ครูให้เด็กตรวจสอบทบทวนความรู้ความเข้าใจจากงานศิลปะที่ทำ
  4.3 ขั้นสรุป
      -ครูกับเด็กสรุปสิ่งที่เรียนรู้
  4.4 เตรียมสื่ออุปกรณ์
  4.5 กำหนดแนวการประเมินภาพการสอน
2.3 การหาคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นสื่อการเรียนรู้ให้อาจารย์ผู้สอนในระดับศึกษาปฐมวัย จำนวน 3 ท่าน ที่สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป มีประสบการณ์สอนอย่างน้อย 5 ปี ตรวจสอบจากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำและนำแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปตรวจสอบความยากง่ายทางสถิติ


  บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เป็น 3 ตอน ดังนี้
    1. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวม 5 ทักษะ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
    2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
    3. วิเคราะห์ระดับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวม 5 ทักษะ และจำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการทดลอง

     สรุปได้ว่า หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เด็ก ปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นสรุปหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เด็ก ปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับปากเปล่า 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด 1 – 10 แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และทุกทักษะมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น

     จากความเห็นเบื้องต้น เด็กปฐมวัยกลุ่มคะแนนสูงที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีระดับความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำแนกรายทักษะทั้ง 5 ทักษะ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับดีแต่หลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับ ดีมาก และมีคะแนนนัยทางสถิติเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมหลังการทดลองโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก

บทที่ 5

สรุปอภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ

     ในการวิจัยครั้งนี้ทดลองเพื่อมุ่งศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูและ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป

สรุปผลการวิจัย
    1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
   2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น

ข้อสังเกตการวิจัย
   1. ในการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ครูจำเป็นต้องปฏิบัติตามแผนการจัดกิจกรรม
    2. สื่อการเรียนการสอนต้องมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนเด็ก
    3. ในการทำกิจกรรมขั้นนำเข้าสู่งานศิลปะในช่วงแรก ๆ เด็กยังไม่เข้าใจรูปแบบการทำศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จึงต้องแนะนำ และสาธิตวิธีการทำศิลปะก่อน
    4. ในการถามคำถามให้เด็กคิด ครูควรกระตุ้นให้เด็กที่ไม่กล้าแสดงความคิดได้แสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นการตั้งปฏิบัติในการนำเสนองานกลุ่ม คือ ผู้ที่ออกมานำเสนอต้องไม่ซ้ำและหมุนเวียนจนครบทุกคน
    5. หลังจากการเรียนรู้ขั้นสรุปสาระสำคัญที่เรียนรู้ ครูควรกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้รวมกันเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นการสร้างความคิดรวบยอดรวมกัน
    6. การจัดการเรียนการสอนที่ดีควรให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กัน เด็กควรทำกิจกรรมกลุ่มกลุ่มละ 2 – 5 คนเหมาะสมที่สุดเพราะเด็กจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเฉพาะการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบศิลปะทั้ง 3 รูปแบบ คือ ศิลปะบูรณาการ ศิลปะเปลี่ยนแบบและศิลปะค้นหาสามารถทำรวมกันได้


ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย
    1. ควรมีการศึกษาการนำกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบอื่นมาจัดกิจกรรมให้เด็กเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ฯลฯ ที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบการเรียนรู้ เช่น ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้นหา เพื่อศึกษาความแตกต่าง
    2. ควรมีการนำรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กหญิงและเด็กชาย เพื่อหาความแตกต่างในการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะแบบเดียวกัน
   3. ควรมีการศึกษาความแตกต่างในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ระหว่างสื่อของจริงและสื่อจำลอง และเปรียบเทียบความภูมิใจของเด็กในตนเองของเด็กปฐมวัยในการทำศิลปะเพื่อการเรียนรู้
   4. ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แต่ละรูปแบบว่าแบบใดพัฒนาทักษะได้มากกว่ากัน
    5. ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แบบกลุ่ม และรายบุคคล ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
สรุปบทความ


      ธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องจำนวน หากเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของจำนวน เด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การบวก ลบ ต่อไปได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้รู้ค่ารู้จำนวน จึงเป็นสิ่งที่ครูจะละเลยไม่ได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่งคือ จะใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆตัว และต้องทำซ้ำๆสม่ำเสมอ เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้จำนวนโดยการสัมผัสของจริงแล้ว ก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่เป็นนามธรรมได้บ้าง เช่น การใช้ภาพเป็นสื่อแทนของจริง

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 7 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ....



วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 7 มกราคม 2558 เวลาเรียนวันพุธ 08.30น.- 12.20น.
เวลาเข้าสอน 08.30น. เวลาเข้าเรียน 08.30น.เวลาออกจากห้องเรียน 11.20


เนื้อหาที่เรียน

จุดมุ่งหมายของรายวิชา


1.คุณธรรม จริยธรรม

2.ความรู้  สาระในเนื้อหา


3.ทักษะทางปัญญา เอาความรู้เหล่านั้นไปใช่ให้เป็นประโยชน์


4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล


5.ทักษะทางสังคม ประมวลผลสาระสนเทศ


6.ทักษะของการจัดการเรียนรู้




ทักษะที่ได้รับ

วิธีการสอน
-  การระดมความคิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-  การใช้โปรแกรม My Map  เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
-  การนำการสื่อ ออนไลน์  มาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน

การประยุกต์ใช้


    การนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนและการนำไปสอนน้องๆ ในด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ฝึกการใช้ความคิด




บรรยากาศในการเรียนการสอน

อากาศในห้องเรียนเย็นไปหน่อย 




ประเมินผู้สอน

อาจารย์สอนเข้าใจ เสียงดังฟังชัด อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย