วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 27 เมษยน 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.


วันนี้เป็นการสอบในเนื้อหาที่ได้เรียนมาทั้งหมด  ได้การสรุปบทเรียนที่เรียนมาทั้งหมด
























    

บันทึกการเรียนวันพุธที่ 23 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 23 เมษายน 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.

เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.

เนื้อหา
    วันนี้สอบสอนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยให้เพื่อนๆเป็นเด็ก กลุ่มของข้าพเจ้าได้ การเขียนแผนการสอน "เรื่องปลา" นำนำสื่ออุปกรณ์เกี่ยวกับปลา










  เทคนิคที่ได้จากอาจารย์  
         การสอนจะต้องต่อเนื่อง
         การนำสื่อและอุปกรณ์ในการสอนเด็กจะต้องถ้าจะให้ดีจะต้องเป็นของจริง
         ครูเก็ฐเด็กให้ได้
         การสอนจะต้องนั่งให้เสมอกับเด็กไม่บังกระดานเพื่อเด็กจะได้เห็นชัดและถูกต้อง
         ครูจะต้องมีลายมือที่สวย
         
การนำมาประยุกต์ใช้
    เราสามารถนำไปบูรณาการในการสอนและเพื่อเด็กจะเข้าใจในการเรียนได้

บรรยากาศในห้องเรียน
     วันนี้มีการเรียนแปลกขึ้นเพราะสถานที่ไม่เอื้ออำเนื้อ อาจารย์มาเรียนใต้ตึกเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศอีกแบบ

การประเมิน
  
ประเมินตนเอง
    ทำให้รู้การจัดการสอนและเทคนิคที่เพิ่มขึ้น

ประเมินเพื่อน
   ให้ความร่วมมือทุกคน ตั้งใจในการเรียน

ประเมินอาจารย์
    อธิบายการสอนและมอบเทคนิควิธีการสอนอย่างเข้าจ



บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 8 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 8 เมษยน 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.

เนื้อหา
การออกแบบกิจกรรม

ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย
1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
- ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
      เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
  กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

วิธีการสอน
   มีอุปกรณ์ในการเรียนที่ครบถ้วน
   มีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียน

การประยุกต์ใช้
    สามารถนำการเรียนไปบูรณาการในการสอนได้

การประเมิน

ประเมินตนเอง
มีความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
ประเมินอาจารย์
อธิบายได้อย่างเข้าใจ การแต่งกายเรียบร้อย

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 25 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 25 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.

เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.

กิจกรรมต่อไม้รูปทรงต่างๆ
อุปกรณ์
1.ไม้ 
2.ดินน้ำมัน
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้
4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้
นำเสนอบทความ
เลขที่2 เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

นำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่25 เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5ประสาทสัมผัส
เลขที่26 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทาน

นำเสนอรูปแบบการสอน
นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา
ปรัชญาและหลักการสอน
1เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2เด็กที่มีจิตซึมซับได้
3.ช่วงเวลาหลักของชีวิต
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม
5. การศึกษาด้วยตนเอง
วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเตรียม = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
     วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว
   ลักษณะเด่นของวิธีสอน
1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง
3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง
4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไ1ข

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง
นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology),วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
-Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
-Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
-Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิธีการสอน
-มีกิจกรรมตัวอย่างให้ทำก่อนเรียน
-มีกิจกรรมทรอดแทรกให้น่าสนใจ

การประยุกต์ใช้
สามารถนำไปบูรราการ การใช้สอนกับการรียนการสอนของด็กปฐมวัยได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมมือปฎิบัติกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ เข้าสอนด้ตรงเวลา

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 18 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 11 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.

เนื้อหา
   ให้ทำกิจกรรมโดยการแบ่งกลุ่ม ละ3คน โดยแต่งนิทาน คำค้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ดังนี้

สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ เท่ากัน ไม่เท่ากันน้อยกว่า มากกว่า
สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา

วิธีการสอน
นำเสนอวิจัยโดย เลขที่22
นำเสนอบทความโดย เลขที่ 1 เรื่องเทคนิคการสอนเลขอนุบาล
นำเสนอบทความ เลขที่ เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์ปฐมวัย 
             เลขที่3 กระดุมหลากสี
             เลขที่ 25 กิจกรรมแสนสนุก
             เลขที่ 26 อนุรักษ์เชิงปริมาณ

ทักษะที่ได้รับ
 - การฝึกความกล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น
 - การฝึกทักษะการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง
 - การฝึกความคิด จิตนาการ ในการเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
 นำสื่อต่างๆในด้านคณิตศาสตร์ไปใช้ ในการเรียนการสอน การนำเพลง นิทาน  คำคล้องจอง เพื่อไปใช้สอนเด็กได้ฝึกการคิด ฝึกจิตนาการได้
บรรยากาศในห้องเรียน
 ทุกคนให้ความร่วมมือ แต่วันนี้มีกิจกรรมกีฬามหาลัย ทำให้นักศึกษามาเรียนน้อย

การประเมิน
ประเมินตนเอง
  เข้าใจในเนื่อหาที่เรียนและเรียนรู้ว่าเราสามารถนำเพลง คำคล้องจอง มาประยุกต์ใช้ในการสอนได้อีกด้วย
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในทำกิจกรรม 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมตัวในการสอนอย่างดี อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจ  อาจารย์ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

การนำเสนอสื่อและกิจกรรมสำหรับทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
กิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท

จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 
     1. ส้ม 2-3 ผล
     2. มะม่วง 2-3 ผล
     3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
     4. การจาด 
     5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม
     1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
     2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
     3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
     4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
     5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผลสังเกต
   1. จากการร่วมกิจกรรม
   2. จากการสนทนาตอบคำถาม
  3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 11 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พุธที่ 11 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.
เนื้อหา- ก่อนการเริ่มการเรียนการสอน
ให้ทำกิจกรรมติดชื่อการมาโรงเรียนของนักเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง มีสามชิกทั้งหมดจำนวน 16 คน ในกิจกรรมนี้จะเชื่อมโยงไปสู่สาระมาตรฐานและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ
สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
น้อยกว่า มากกว่า
สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา

- นำเสนอบทความ เลขที่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
- นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์
     รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครง เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด ในวันนี้เพื่อนๆได้นำเสนอเป็น Powerpoint และมีโทรทัศน์ครูเป็นสื่อประกอบ 
    รูปแบบการจัดประสบการณ์ 2 กลุ่ม มีปัญหา นำเสนอสัปดาห์หน้า
-  เพื่อนออกมานำเสนอสื่อและกิจกรรมในการสอนเด็กปฐมวัย 3 คน
- ฝึกร้องเพลงและแปลงเนื้อเพลง


เพลง บวก- ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

แปลงเพลง
บ้านฉันมีหมวกสวยเจ็ดใบ เพื่อนให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีหมวกสวยสิบใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาหมวกแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่เจ็ดใบ

เพลง เท่ากัน- ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

แปลงเพลง
แพะมีสี่ขา แกะมีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา สองขา ต่างกัน
แพะแกะมี สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง

เพลง จับปู
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ
วิธีการสอน
- มีการทบทวนความรู้เดิม เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- มีสื่อในการเรียนการสอนประกอบ

ทักษะที่ได้
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการตอบคำถาม
- ทักษะในการร้องเพลง
- ทักษะในการแปลงเพลง

การนำไปประยุกต์ใช้
        นำไปใช้ในการเรียนการสอนในการจัดประสบการณ์รูปแบบต่างๆ และได้ทักษะในการนำเพลงๆไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีปัญหาขัดข้องคือเมื่อนำซีดีไปเปิดงานไม่สามารถเปิดได้ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น

การประเมิน
ประเมินตนเอง
       เข้าใจในเนื่อหาที่เรียนมากขึ้น ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในทำกิจกรรม ช่วยกันแสดงความคิดเห็นมีความร่วมมือสามัคคีกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
        อาจารย์เตรียมตัวในการสอนอย่างดี อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจ สอดคล้องกับแผนการเรียนและยังเกิดประโยชน์อีกด้วย