วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 18 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พุธที่ 11 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.

เนื้อหา
   ให้ทำกิจกรรมโดยการแบ่งกลุ่ม ละ3คน โดยแต่งนิทาน คำค้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ดังนี้

สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ เท่ากัน ไม่เท่ากันน้อยกว่า มากกว่า
สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา

วิธีการสอน
นำเสนอวิจัยโดย เลขที่22
นำเสนอบทความโดย เลขที่ 1 เรื่องเทคนิคการสอนเลขอนุบาล
นำเสนอบทความ เลขที่ เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล
นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์ปฐมวัย 
             เลขที่3 กระดุมหลากสี
             เลขที่ 25 กิจกรรมแสนสนุก
             เลขที่ 26 อนุรักษ์เชิงปริมาณ

ทักษะที่ได้รับ
 - การฝึกความกล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น
 - การฝึกทักษะการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง
 - การฝึกความคิด จิตนาการ ในการเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
 นำสื่อต่างๆในด้านคณิตศาสตร์ไปใช้ ในการเรียนการสอน การนำเพลง นิทาน  คำคล้องจอง เพื่อไปใช้สอนเด็กได้ฝึกการคิด ฝึกจิตนาการได้
บรรยากาศในห้องเรียน
 ทุกคนให้ความร่วมมือ แต่วันนี้มีกิจกรรมกีฬามหาลัย ทำให้นักศึกษามาเรียนน้อย

การประเมิน
ประเมินตนเอง
  เข้าใจในเนื่อหาที่เรียนและเรียนรู้ว่าเราสามารถนำเพลง คำคล้องจอง มาประยุกต์ใช้ในการสอนได้อีกด้วย
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในทำกิจกรรม 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมตัวในการสอนอย่างดี อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจ  อาจารย์ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

การนำเสนอสื่อและกิจกรรมสำหรับทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
กิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท

จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 
     1. ส้ม 2-3 ผล
     2. มะม่วง 2-3 ผล
     3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
     4. การจาด 
     5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม
     1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
     2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
     3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
     4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
     5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผลสังเกต
   1. จากการร่วมกิจกรรม
   2. จากการสนทนาตอบคำถาม
  3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 11 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พุธที่ 11 มีนาคม 2558
เวลาเรียน 8.30- 12.00 น.
เข้าสอนเวลา 8.30-12.00 น.
เนื้อหา- ก่อนการเริ่มการเรียนการสอน
ให้ทำกิจกรรมติดชื่อการมาโรงเรียนของนักเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง มีสามชิกทั้งหมดจำนวน 16 คน ในกิจกรรมนี้จะเชื่อมโยงไปสู่สาระมาตรฐานและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ
สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
น้อยกว่า มากกว่า
สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา

- นำเสนอบทความ เลขที่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
- นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์
     รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครง เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด ในวันนี้เพื่อนๆได้นำเสนอเป็น Powerpoint และมีโทรทัศน์ครูเป็นสื่อประกอบ 
    รูปแบบการจัดประสบการณ์ 2 กลุ่ม มีปัญหา นำเสนอสัปดาห์หน้า
-  เพื่อนออกมานำเสนอสื่อและกิจกรรมในการสอนเด็กปฐมวัย 3 คน
- ฝึกร้องเพลงและแปลงเนื้อเพลง


เพลง บวก- ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

แปลงเพลง
บ้านฉันมีหมวกสวยเจ็ดใบ เพื่อนให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีหมวกสวยสิบใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาหมวกแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่เจ็ดใบ

เพลง เท่ากัน- ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

แปลงเพลง
แพะมีสี่ขา แกะมีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา สองขา ต่างกัน
แพะแกะมี สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง

เพลง จับปู
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ
วิธีการสอน
- มีการทบทวนความรู้เดิม เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- มีสื่อในการเรียนการสอนประกอบ

ทักษะที่ได้
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการตอบคำถาม
- ทักษะในการร้องเพลง
- ทักษะในการแปลงเพลง

การนำไปประยุกต์ใช้
        นำไปใช้ในการเรียนการสอนในการจัดประสบการณ์รูปแบบต่างๆ และได้ทักษะในการนำเพลงๆไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีปัญหาขัดข้องคือเมื่อนำซีดีไปเปิดงานไม่สามารถเปิดได้ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น

การประเมิน
ประเมินตนเอง
       เข้าใจในเนื่อหาที่เรียนมากขึ้น ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในทำกิจกรรม ช่วยกันแสดงความคิดเห็นมีความร่วมมือสามัคคีกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
        อาจารย์เตรียมตัวในการสอนอย่างดี อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจ สอดคล้องกับแผนการเรียนและยังเกิดประโยชน์อีกด้วย